สมุนไพรไทย

http://opalkikiki.siam2web.com/

ลำโพงดอกขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์  Datura  metel  L.

ชื่อสามัญ  Apple of Peru, Green Thorn Apple, Hindu Datura, Metel, Thorn Apple

วงศ์  Solanaceae

ชื่ออื่น :   มะเขือบ้า, มั่งโต๊ะโล๊ะ, ละอังกะ, เลี๊ยก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ห่างกัน แผ่นใบสีเขียว  ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวคึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายบานเป็นรูปแตร ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียว ผิวเป็นตุ่มหนาม ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :
ใบแห้ง ดอกแห้ง ยอดอ่อน ช่อดอก

สรรพคุณ :

  • ใบ - พอกแผลฝี แผลไหม้ รักษาไขข้ออักเสบ แก้กลากเกลื้อน
  • น้ำจากใบสด - หยอดหู แก้ปวดหู
  • เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดฟัน




ทองกวาว



 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อพ้อง : Butea frondosa  Wild.

ชื่อสามัญ :   Flame of the Forest, Bastard Teak

วงศ์ :   Leguminosae-Papilionoideae

ชื่ออื่น :  กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ : 
ดอก ยาง ใบ เมล็ด

สรรพคุณ :

  • ดอก
    - รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
    - ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
    - เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี

  • ยาง - ใช้แก้ท้องร่วง

  • ใบ
    -
    ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
    - แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง

  • เมล็ด
    - ขับไส้เดือน
    - บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน

ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงาน 2 ฉบับคือ

  1. รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง

  2. รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน (Isobutrin) และ บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้

 

 

 พิกุล

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mimusops elengi  L.

ชื่อสามัญ :    Bullet wood

วงศ์ :    SAPOTACEAE

ชื่ออื่น :   พิกุลเขา กุล แก้ว ซางดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
ส่วนที่ใช้ :  ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ

สรรพคุณ :

  • ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย

  • ดอกแห้ง -  เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ

  • ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก

  • เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด

  • เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก

  • ใบ - ฆ่าพยาธิ

  • แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม

  • กระพี้ -  แก้เกลื้อน



มะรุม


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

ชื่อสามัญ Horse radish tree, Drumstick

วงศ์  Moringaceae

ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก

สรรพคุณ :

  • ัก  -  ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

  • เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

  • ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
          - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
    แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 5,713 Today: 5 PageView/Month: 31

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...